UFABETWINS : ชนะแล้วได้อะไร? : เกมการเมืองสู่ฟุตบอลที่ทำให้ “ไนจีเรีย” วุ่นวายและตกต่ำ
UFABETWINS ฟุตบอลคือกีฬาอันดับ 1 ของโลก มันคือกีฬาที่ไม่ได้มีแค่ความนิยมเท่านั้น แต่เมื่อโลกหมุนเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนกีฬาเป็นความบันเทิงและธุรกิจ สิ่งที่ใหญ่ที่สุดที่ตามมาก็คือ “เงิน”
UFABETWINS และแน่นอน เมื่อมีเงินก็ต้องมีผลประโยชน์เกิดขึ้น ดังนั้นใครก็ตามที่ได้เข้ามายืนใน ตำแหน่งประมุข ในวงการฟุตบอล เขาคนนั้นจะได้รับการนับหน้าถือตา มีอำนาจ และมีอิทธิพลในการต่อรอง จุดนี้เองที่ทำให้สเกลของการเลือกตั้งประธานสมาคมฟุตบอลของหลายๆประเทศเป็นสนามเลือกตั้งเล็ก สำหรับพรรคการเมืองที่ชิงอำนาจในประเทศ ทุกอย่างที่กล่าวนำมาซึ่งความวุ่นวายและการเล่นนอกกติกา เมื่อเป็นเช่นนั้น ฟุตบอลก็กลายเป็นเครื่องมือของการเมืองอย่างปฎิเสธไม่ได้.. และเมื่อใดก็ตามที่พวกเขาซ่อนเบื้องหลังไว้ไม่มิด สิ่งเหล่านั้นก็จะกลับมาเล่นงานจนชนิดที่ว่าเสียดายเป็นล้านรอบก็ยังไม่พอ
นี่คือเรื่องจริงซึ่งเกิดขึ้นในประเทศไนจีเรีย ที่การเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลนำมาซึ่งความวุ่นวาย, รุนแรง และผูกกับการเมือง จนส่งผลร้ายในแบบที่พวกเขาคาดไม่ถึง
เค้กก้อนใหญ่ที่ชื่อว่าฟุตบอลไนจีเรีย
ไนจีเรีย คือประเทศมหาอำนาจของทวีปแอฟริกา และแน่นอน พวกเขาคือหนึ่งในชาติที่ร่ำรวยที่สุดในกาฬทวีปแห่งนี้
จุดเริ่มต้นนี้มีที่มาเมื่อนานแสนนานมาแล้ว ตั้งแต่ชนเผ่าต่างๆยังค้าทาสเพื่อแลกกับอาวุธมาชิงอำนาจในท้องที่ ซึ่งกลายเป็น ไนจีเรีย นี่เอง ที่เป็นศูนย์กลางของการค้าทาส และความมั่งคั่งเมื่อครั้งอดีต บวกกับการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ พวกเขาจึงต่อยอดและสืบทอดความร่ำรวยมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าจะไม่มีทาสแล้ว แต่สุดท้าย ไนจีเรีย ก็ร่ำรวยจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่ดี
เมื่อประเทศร่ำรวย จึงไม่แปลกเลยที่ฟุตบอลของไนจีเรีย จะเป็นประเทศแรกในแอฟริกาที่ได้ลืมตาอ้าปาก เรียกได้ว่าในยุค 80’s ที่บางประเทศยังหาความสงบและมีสมาคมฟุตบอลที่มีความนิ่งไม่ได้ ไนจีเรียก็ส่งทีมระดับเยาวชนรุ่นยู 17 เข้าไปชิงแชมป์โลกแล้ว และหลังจากนั้นเป็นต้นมา “ทัพอินทรีมรกต” ก็เป็นชาติที่มีมาตรฐานระดับต้นๆของทวีปมาโดยตลอด
ทุกอย่างส่งผลกันต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เมื่อมีทีมฟุตบอลเก่ง ประชาชนก็ต้องบ้ากีฬาฟุตบอลและคลั่งไคล้มันอย่างเต็มที่ ยิ่งเมื่อผนวกกับชาวไนจีเรียนั้นใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ พวกเขาก็บ้าฟุตบอลพรีเมียร์ลีกด้วย ยิ่งทำให้ความนิยมในกีฬาฟุตบอลมากขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว
สิ่งที่ได้จากการบ้าฟุตบอลของคนในประเทศคืออะไร? แน่นอนมันนำมาซึ่งความหอมหวานของตำแหน่งนายกสหพันธ์ฟุตบอลไนจีเรีย หรือ NFF หากใครขึ้นไปนั่งแท่นได้ ผลประโยชน์หลายอย่างก็จะตามมา โดยเฉพาะเรื่องของชื่อเสียง และตัวของผู้นำก็จะได้เป็นขวัญใจของแฟนบอลด้วย มันเหมือนกับการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว ถ้าบริหารวงการฟุตบอลให้ประสบความสำเร็จ ก็หมายความว่าเขาคนนั้นจะกลายเป็นที่รักของประชาชน และนั่นหมายถึงฐานเสียงที่สามารถนำไปต่อยอดได้ในการเมืองสนามใหญ่นั่นเอง
เรื่องเหล่านี้นั่นเองคือจุดเริ่มต้นของการแย่งชิงตำแหน่งผู้นำ สำหรับไนจีเรีย การเลือกตั้งนายกสหพันธ์ฟุตบอลนั้นมีปัญหามาแทบทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะในช่วง 20 ปีหลังที่มีเม็ดเงินหมุนเวียนมากขึ้น การแข่งขันก็ยิ่งเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ และใครก็ตามที่ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำ เขาคนนั้นก็มักจะมีข่าวเสื่อมเสียเกิดขึ้นเป็นประจำ สาเหตุหลักๆก็คือ เรื่องเกี่ยวกับการทุจริต ทั้งการล้มบอลในลีกประเทศไนจีเรียเอง หรือแม้กระทั่งการยอมโกงเพื่อแลกกับความสำเร็จของทีมชาติไนจีเรียชุดเยาวชน เพื่อรักษาคะแนนเสียงและคะแนนความนิยม
“เราใช้นักเตะอายุเกินเพื่อคว้าแชมป์ในรุ่นเยาวชน ผมรู้เรื่องนั้น” แอนโธนี โคโจ วิลเลียมส์ อดีตประธานสหพันธ์ฟุตบอลไนจีเรียให้สัมภาษณ์กับ BBC “ทำไมถึงพูดเช่นนั้นน่ะเหรอ? เพราะมันคือความจริง เราโกงมาโดยตลอด มันคือสิ่งที่เกิดขึ้น”
สิ่งหนึ่งที่ยืนยันถึงเรื่องนี้ได้ดีคือ ไนจีเรียเป็นเทพแห่งฟุตบอลเยาวชนตั้งแต่ยู 17 จนถึงระดับโอลิมปิกเมื่อครั้งอดีต พวกเขามีทีมเยาวชนที่เคยคว้าแชมป์โลกมาแล้วหลายรุ่น ทว่าเมื่อถึงการแข่งขันระดับชุดใหญ่ ไนจีเรียก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จกับฟุตบอลโลกในระดับที่ใครคาดหวังได้เลยสักครั้ง.. นั่นคือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในสหพันธ์ฟุตบอลไนจีเรียนั้น ก่อให้เกิดผลร้ายแรงกับวงการฟุตบอลพวกเขาเองโดยที่คนทำอาจจะไม่ได้รู้ตัวเลย
แล้วไงใครแคร์?
สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาในข้างต้น ทำให้หลายครั้งการเลือกตั้งนายกสหพันธ์ฟุตบอลไนจีเรียเป็นไปอย่างดุเดือด จนกระทั่งสิ่งที่พยายามซ่อนไว้ก็ซ่อนไม่อยู่อีกต่อไป
สิ่งนั้นคือการเมือง และเบื้องหลังนั้นเองคือสิ่งที่ FIFA ยืนกรานว่า “การเมืองห้ามมายุ่งเกี่ยวกับสมาคมฟุตบอลเด็ดขาด” ไม่ว่าจะประเทศใดก็ตาม และหากโดนจับได้ว่ามีการเมืองมาเกี่ยวข้องจริง สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้นคือการโดนแบนจาก ฟีฟ่า และไม่มีสิทธิ์ลงแข่งขันในรายการระดับโลกที่ฟีฟ่ารับรอง ซึ่งถือว่าเป็นการเสียโอกาสเป็นอย่างมาก.. และหลายประเทศเคยเจอมาแล้ว
อย่างไรก็ตาม รู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง เพราะผลประโยชน์นั้นช่างหอมหวาน ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดตัวอย่างหนึ่งคือการเลือกตั้งในปี 2014 ซึ่งเป็นการชิงตำแหน่งกันระหว่าง อามินู ไมการี เจ้าของตำแหน่งที่กำลังจะหมดวาระ กับ คริส จีวา นักการเมืองที่มีความเกี่ยวพันในหลายส่วนของประเทศไนจีเรีย ทั้งเรื่องของการเมืองท้องถิ่น และการมีบทบาทในกระทรวงกีฬาของประเทศด้วย
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในวันลงมติเลือกตั้งประธานสหพันธ์ฟุตบอลไนจีเรีย ซึ่งตัวของ อามินู ไมการี ไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมได้ เพราะเขาและ มูซา อมาดู มือขวาที่เป็นรองประธานถูกกักตัวไว้โดยกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐ โดยให้เหตุผลว่า “ไมการี จำเป็นต้องตอบคำถามบางข้อ”
ซึ่งการมารายงานตัวในวันลงมติไม่ทัน ส่งผลให้นายจีวาได้รับการยกมือสนับสนุนจากจากผู้มีสิทธิ์ออกเสียง โดยไม่มีการแยแสเสียงคัดค้านใดๆ เนื่องจากวันนั้นมีสมาชิกมาลงชื่อเลือกตั้งเพียง 29 คนเท่านั้นจากจำนวนเต็ม 44 คน
“คริส จีวา เป็นคนที่ไม่ใช่พวกบ้าน้ำลาย เขาพูดเพียงไม่กี่คำ แต่แน่นอนที่สุดคือเขาเป็นคนที่คลั่งไคล้ฟุตบอลมากๆ เรารักฟุตบอลไนจีเรีย และเขาคือชายที่มุ่งมั่นจะนำคืนวันอันรุ่งโรจน์มาสู่ฟุตบอลไนจีเรียแน่นอน” แซมสัน โอมาเล นักข่าวกีฬาจากสำนักข่าง JOS กล่าวให้กับสื่อระดับโลกอย่าง GOAL เข้าใจ
คดีพลิก
ชัยชนะที่ไม่เป็นเอกฉันท์นำมาซึ่งความคลางแคลงใจของอีกฝั่ง รวมถึงบอสใหญ่อย่าง FIFA ด้วย ณ เวลานั้น เซ็ปป์ แบล็ตเตอร์ ดำรงตำแหน่งประธานฟีฟ่าอยู่ และเขามีคำสั่งโดยตรงให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ..
คำสั่งจาก FIFA ในเวลานั้น คือพวกเขายืนกรานว่าจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ โดยผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงจะต้องได้ใช้สิทธิ์ของตัวเองแบบเต็มจำนวน หากมีเหตุการณ์ตุกติกหรือมีการนำเรื่องแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางการเมืองมายุ่งอีก FIFA จะลงโทษด้วยมาตรการเด็ดขาด ด้วยการคว่ำบาตรสหพันธ์ฟุตบอลไนจีเรียทันที
ในขณะที่ อามินู ไมการี และ คริส จีวา กำลังวางแผนชิงตำแหน่งประธานนายกสหพันธ์ฟุตบอลครั้งใหม่ พวกเขาก็ต้องช็อกและม้วนเสื่อกลับบ้านแทบไม่ทัน เพราะ FIFA จัดไม้หนักด้วยการแบนทั้งคู่ห้ามเกี่ยวข้องกับสหพันธ์ฟุตบอลไนจีเรียไปเรียบร้อยแล้ว
การชกใต้เข็มขัดของทั้งสองฝ่าย ทำให้ FIFA ไม่อาจจะเชื่อใจให้พวกเขาจัดการเลือกตั้งกันเองได้อีก ข้อพิพาทดังกล่าวนำมาซึ่งการแทรกแซงของ FIFA โดยตรง และหนนี้กว่าจะได้เลือกตั้งกัน ต้องมีการตั้งสภาโต๊ะกลมนำเอาทั้งสองขั้วมานั่งเจรจากันเพื่อหาการประนีประนอมให้ได้ แต่สุดท้ายความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาหลายปีก็มากเกินกว่าที่จะทำให้ทั้งสองฝั่งเข้าใจกันได้.. การประนีประนอมไม่สำเร็จ
ผลที่ออกมาจาการเลือกตั้งจึงพลิกไปอีก 1 ตลบ เมื่อคนที่ชนะการเลือกตั้งและได้รับเลือกให้เป็นประมุขของสหพันธ์คือ อามาจู พินนิค อดีตคณะกรรมการกีฬาแห่งรัฐเดลต้า ที่ได้รับคะแนนโหวต 32 เสียงจากผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งหมด 44 คน
ว่ากันว่าหนนี้ เซ็ปป์ แบล็ตเตอร์ เป็นคนลงมาเล่นเกมนี้ด้วย สื่ออย่าง BBC ยืนยันว่า อามาจู คือคนที่แบล็ตเตอร์ผลักดันขึ้นมาให้เป็นใหญ่ ท่ามกลางปัญหาของสองขั้วอำนาจเก่าที่ไม่ยอมประนีประนอมกัน จนทีมชาติไนจีเรียกำลังจะโดนตัดสิทธิ์ลงแข่งขันฟุตบอลแอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ 2015 อยู่รอมร่อ
“แผนการของผมคือการสร้างความปรองดองอย่างแท้จริง ผมจะไปยังเมืองจอส เพื่อไปคุยกับ คริส จีวา เป็นการส่วนตัว เพราะตอนนี้จะไม่มีการแบ่งฝั่ง พวกเราทุกคนจะต้องรวมกันเป็นหนึ่งเพื่อประโยชน์ของประเทศและฟุตบอลของเรา” อามาจู พินนิค ที่รับตำแหน่งและมีวาระทำงานถึงปี 2018 กล่าว
FIFA มาจัดให้แล้วดีจริงไหม?
คำพูดสวยหรูและตัวหนังสือบนหน้าสื่อไม่สามารถบอกอะไรชัดเจนมากกว่าการกระทำ.. FIFA และ เซ็ปป์ แบล็ตเตอร์ พยายามจะบอกว่าพวกเขาต้องการนำความขาวสะอาดและความเป็นหนึ่งเดียวกลับมาให้ฟุตบอลไนจีเรีย แต่ความจริงที่เจอคือ ตัวเขาเองนั่นแหละที่โดนดีจากการเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีทุจริต
แบล็ตเตอร์ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธาน FIFA ในปี 2015 และเป็นสมัยที่ 5 ของเขา ทว่าหลังจากนั้นเพียง 5 วันก็ต้องประกาศลาออก เพราะมีปัญหาเรื่องทุจริตรุมเร้า และอัยการสูงสุดของสหรัฐอเมริกาได้เดินเรื่องฟ้องร้องแล้ว โดยประเมินว่ามีการพัวพันสินบนที่เป็นเงินสูงถึง 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 4,950 ล้านบาทเลยทีเดียว
อะไรเกิดขึ้นหลังจากนั้นที่ไนจีเรีย?.. ง่ายนิดเดียว อ้อยเข้าปากช้างไปแล้วมันก็ยากที่ช้างจะคายออกมาง่ายๆ ยิ่งเมื่อกลุ่มขั้วอำนาจเดิมไม่ยอมประนีประนอม การต่อสู้โดยไม่สนวิธีการก็ยังดำเนินต่อไป
เดือนเมษายน ปี 2016 หลังจากแบล็ตเตอร์หมดอำนาจ คริส จีวา กลับมาผงาดอีกครั้ง หลังศาลสูงสุดของรัฐบาลกลางตัดสินให้เขาเป็นผู้ชนะที่แท้จริงในการเลือกตั้งเมื่อปี 2014 และจะได้ตำแหน่งดังกล่าวกลับคืนมาในวันที่ 11 เมษายนของปีนั้น
แม้จะสู้กันแทบตาย แต่ก็สายไปเสียแล้ว อ้อยเข้าปากช้าง คือเหตุผลหนึ่ง ส่วนอีกหนึ่งเหตุผลคือ FIFA ในยุคของ จานนี อินฟานติโน ประธานคนใหม่ ก็ขัดขวางคำสั่งของศาลสูงสุดอยู่ดี เพราะมันเป็นการนำการเมืองมายุ่งกับฟุตบอล จึงทำให้นายอามาจูยังคงดำรงตำแหน่งจนครบวาระถึงปี 2018
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ แม้ว่าปีนี้เป็นปี 2020 แล้ว แต่นายอามาจูก็ยังคงอยู่ในตำแหน่งประธานสหพันธ์ฟุตบอลไนจีเรียได้ต่อไป แม้ว่าเขาจะโดนสอบสวนจากคดีการร่วมยักยอกเงินสนับสนุนจาก FIFA เป็นจำนวน 8.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิล หลังเจ้าตัวชนะการเลือกตั้งได้ไม่นาน และทุกวันนี้เขาก็ยังมีคดีที่ถูกฟ้องบนชั้นศาลอีกไม่น้อย
เหตุผลก็เพราะในการเลือกตั้งในปี 2018 ที่ชิงตำแหน่งกันทั้งหมด 4 คนได้แก่ นายอามาจู เจ้าของตำแหน่งเดิม, นายไมการี ที่เคยดำรงตำแหน่งในปี 2010-14, นายไทโว โอกุนโจบี อดีตเลขาธิการที่โดนแบนครบ 10 ปี และคนสุดท้ายคือคนนอกหน้าใหม่อย่าง ชิเนดู โอโกเย… นายอามาจูกลายเป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่สิ่งที่ทุกคนในวงการฟุตบอลไนจีเรียรู้คือการต่อสู้ภายในยังไม่มีวันจบ ทุกฝ่ายยังคงห้ำหั่นกัน รวมถึงการฟ้องร้องอะไรต่างๆมากมาย
สิ่งต่างๆที่กล่าวมา ทำให้เราเห็นภาพของการแก่งแย่งชิงดีแบบไม่สนวิธีการได้อย่างชัดเจน ว่าหากไม่มีการลดราวาศอกผลเสียจะเกิดขึ้นมากกว่าผลดีแน่นอน ทุกวันนี้การจัดการต่างๆก็ยังเป็นปัญหาอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง และทีมชาติไนจีเรียก็ไม่ได้มีบทบาทสำคัญในวงการฟุตบอลระดับโลกและระดับทวีปมาสักพักแล้ว
“เรายังมีงานอีกมากมายที่ต้องทำ มันเป็นปัญหาเดิมๆ รออุปกรณ์การซ้อมมาถึง, ปัญหาวีซ่า เราต้องทำให้ดีกว่านี้” เกอร์โน โรห์ กุนซือทีมชาติไนจีเรียที่คุมทีมมาตั้งแต่ปี 2016 กล่าวกับ The Straits Times
หากเปรียบเทียบกับสมาพันธ์, สมาคม และสหพันธ์ฟุตบอลประเทศต่างๆ โดยเฉพาะยุโรป จะเห็นได้ว่าในดินแดนศูนย์กลางลูกหนัง ปัญหาเรื่องการสาดโคลน, ฟ้องร้อง, ทุจริตการเลือกตั้งมีน้อยมาก และมันสะท้อนให้เห็นด้วยผลงานของทีมชาตินั้นๆว่าหากทุกอย่างเป็นไปตามระบบและกลไก เรื่องดีๆย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าแน่นอน
ถึงตอนนี้ ใครที่คิดจะชิงผลประโยชน์คงต้องย้อนกลับมาคิดดูดีๆอีกครั้ง และถึงแม้ท้ายที่สุดแล้วพวกเขาได้รับชัยชนะ.. แต่ชัยชนะนั้นให้คุณหรือโทษกับประเทศของตัวเองกันแน่?
คลิกเลย >>> UFABETWINS
อ่านข่าวอื่นๆที่ >>> https://www.bikewaycentral.com/